มะละกอ  เป็นผลไม้ที่คนไทยรู้จักและนำมาใช้บริโภคกันมาช้านานแล้ว  ผลมะละกอดิบ ผลมะละกอสุกและส่วนของยางยังใช้เป็นประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้อีกหลายๆด้าน    เช่น  เนื้อมะละกอดิบ  สามารถนำไปทำมะละกอเชื่อม  แช่อิ่ม  ดองเค็ม  หรือใช้ในโรงงานปลากระป๋อง ผลมะละกอสุกสามารถใช้ทำน้ำผลไม้  
ผลิตซอส  ผลไม้กระป๋อง  แยม  ลูกกวาดและมะละกอผง  เปลือกมะละกอ  ใช้เป็นอาหารสัตว์หรือสีผสมอาหาร  ยางมะละกอ ใช้ในโรงงานเบียร์  ผลิตน้ำปลา  อาหารกระป๋อง  อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอาง  เป็นต้น 

          นอกจากนี้มะละกอยังเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของไทยที่ใช้ทั้งบริโภคภายในประเทศและมีการส่งออกไปจำหน่ายยัง 
ต่างประเทศ  ที่อยู่ในระดับแนวหน้าพืชหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้แก่ผู้ปลูกได้สูงแต่ในปัจจุบันการปลูกมะละกอ 
ประสบปัญหา"โรคใบด่างวงแหวน"ซึ่งแพร่ระบาดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
เพียงไม่กี่จังหวัด  เช่น ขอนแก่น  ร้อยเอ็ด   กาฬสินธุ์  จากนั้นได้ลุกลามแพร่ระบาดลงมาที่แหล่งปลูกใหญ่ในภาคกลาง คือ ราชบุรี     นครปฐม   สมุทรสาครและทวีความรุนแรงจนปัจจุบัน ถือเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของมะละกอ 
ที่ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของมะละกอลดต่ำลงซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีพันธุ์มะละกอที่สามารถต้านทานต่อโรคนี้ 
ได้โรคใบด่างวงแหวนมะละกอนี้  สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ปาปาย่า  ริง  สปอต   (papaya ringspot virus)       เชื้อไวรัสนี้จะเข้าทำลายมะละกอ ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเจริญเติบโต 
เต็มที่กำลังให้ดอกออกผล ถ้าเชื้อเข้าทำลายตั้งแต่ยังเป็นต้นกล้าจะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง  บิดเบี้ยวเสียรูป  
ใบหงิกงอ  เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นโรครุนแรงใบจะเหลือแค่เส้นใบใบดูเหมือนเส้นด้ายและต้นกล้าอาจตาย 
หรือไม่เจริญเติบโต  ถ้าเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ต้นมีอายุประมาณ 3 เดือน  พบว่า  ใบมีอาการด่าง  บิดเบี้ยว  
หงิกงอยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรคซึ่งทำให้เกษตรกรบางท่านเรียกว่าโรคใบเหลืองและจะสังเกตเห็น 
ลักษณะจุดหรือเป็นทางยาวมีสีเขียวเข้มดูช้ำตามก้านใบ    ลำต้น    การติดผลจะไม่ดี    หรือไม่ติดผลเลย  
อาการที่เกิดกับต้นโตผลมะละกออาจบิดเบี้ยวมีจุดลักษณะเป็นวงแหวนทั่วไปทั้งผลถ้าเป็นรุนแรงแผลเหล่านี้จะ 
มีลักษณะคล้ายสะเก็ดหรือหูดนูนขึ้นมาผิวมะละกอจะขรุขระเนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็งมี 
รสขมซึ่งตลาดไม่ต้องการต้นที่เป็นโรคระยะนี้โดยปกติแล้วจะไม่ให้ผลในดอกชุดต่อๆไปการแพร่ระบาดโดย 
เพลี้ยอ่อนหลายชนิดโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายโดยเชื้อไวรัสติดไปกับส่วนปากของเพลี้ยอ่อนและใช้เวลา 
ในการถ่ายทอดโรคนี้สั้นมากเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าทำลายพืชตระกูลแตงต่างๆกับตระกูลมะละกอ  โดยปกติโรคนี้มักแพร่ระบาดจากแปลงข้างเคียงเข้ามาโดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ เนื่องจากยังไม่พบว่า 
โรคนี้ถ่ายทอดเชื้อผ่านเมล็ด    แนวทางป้องกันควบคุมโรคใบด่างวงแหวนมะละกอ  ได้มีความพยายาม 
ที่จะหาวิธีการต่างๆมาใช้พบว่าการใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยอ่อนไม่ให้ผลในการควบคุมโรคเนื่องจากเพลี้ยอ่อน 
ใช้เวลาที่สั้นมากในการถ่ายทอดโรคไม่มีสารเคมีชนิดใดมีประสิทธิภาพในการฆ่าเพลี้ยอ่อน 
ในทันทีทันใด การป้องกันกำจัดแบบถอนรากถอนโคน   โดยขุดทำลายมะละกอที่เป็นโรค 
ทำลายให้หมดไปจากพื้นที่นั้นแล้วปลูกมะละกอที่ปราศจากโรคใหม่   พบว่าไม่ให้ผลในการป้องกัน  เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถจะอาศัยอยู่ในพืชตระกูลแตงได้  และในทางปฏิบัติไม่สามารถกำจัดพืชเหล่า 
นี้และมะละกอที่เป็นโรคให้หมดสิ้น 

                           ภาควิชาโรคพืช  คณะเกษตร     มหาวิทยาเกษตรศาสตร์  ได้จัดทำโครงการ "แก้ไขปัญหาโรค 
ใบด่างวงแหวนมะละกอ    เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ      สำหรับอุตสาหกรรมผลไม้กระป๋องเพื่อการส่งออก" ขึ้น  
 โดยได้ทำการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นการทำวัคซีนให้กับมะละกอ ซึ่งเป็นวิธีสร้างภูมิคุ้มกันโดยใช้เชื้อไวรัสสายพันธุ์ 
ที่ไม่เกิดโรค  หรือเรียกว่า mild  strain ปลูกเชื้อให้กับต้นกล้ามะละกอ  ทำให้สามารถป้องกันโรคนี้ได้  
โดยมะละกอจะให้ผลผลิตได้ในระดับที่น่าพอใจทั้งปริมาณและคุณภาพวิธีการทำวัคซีน  มีขั้นตอนดังนี้  
คือ ขั้นแรกเพาะเชื้อวัคซีนในแตงฝรั่งหรือในต้นกล้ามะละกอ  จากนั้นนำใบพืชที่มีเชื้อวัคซีนมาบดละเอียด 
ในสารละลายที่ปรับความเป็นกรดเป็นด่าง  กรองเอาน้ำคั้นพืชด้วยกระดาษกรองหรือผ้าขาวบาง   แล้วนำกล้ามะละกอที่มีอายุครบ 1 เดือน  มาทำวัคซีนโดยทาน้ำคั้นพืชที่มีหินกากเพชรผสมลงบนใบมะละกอ  สุดท้ายให้นำกล้าที่ทำการปลูกวัคซีนแล้วไปปลูกเลี้ยงในโรงเรือนต่อเป็นระยะเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์  
และในขณะนี้ได้มีการนำเครื่องพ่นสีรถยนต์มาประยุกต์ใช้แทนการปลูกวัคซีนจากการทาน้ำคั้นพืช 
ด้วยมือ  ซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานวัตถุประสงค์ของโครงการนี้  นอกเหนือจากการฝึกอบรมเกษตรกร 
ให้มีความรู้ในการควบคุมโรคนี้  และเป็นการสร้างงานให้กับบัณฑิตที่ว่างงาน  ได้มีความรู้ความสามารถ  
และประสบการณ์ในการช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร 
ท่านผู้ที่สนใจอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ"วัคซีนมะละกอ" สามารถพบได้ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม